โรคกระดูกพรุนหรือโรคกระดูกบาง เป็นโรคที่ความหนาแน่นของเนื้อกระดูกน้อยลง ส่งผลให้กระดูกไม่แข็งแรง มีโอกาสหักง่ายกว่าคนทั่วไป โดยตำแหน่งที่กระดูกมักจะหัก ได้แก่ สะโพก , กระดูกสันหลัง และ กระดูกข้อมือ
“อาการและอาการแสดง”
ผู้ป่วยที่เป็นโรคกระดูกบาง มักจะไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ ยกเว้น เมื่อมีอาการหักของกระดูก ก็จะมีอาการเจ็บปวดบริเวณที่มีกระดูกหัก
“ปัจจัยเสี่ยง”
ปัจจัยที่ทำให้มีโอกาสเกิดโรคกระดูกบางได้แก่ อายุมาก, เพศหญิง, ขาดฮอร์โมนเอสโตเจน, ภาวะหมดประจำเดือน, สูบบุหรี่, ได้รับแคลเซียมและวิตามินซีน้อย, พิษสุราเรื้อรัง และ การที่ออกกำลังกายมากหรือน้อยเกินไป
“การวินิจฉัย”
ทำได้โดยการวัดความหนาแน่นของกระดูก (bone mineral density)
“การรักษา”
โรคกระดูกพรุนสามารถป้องกันโดย หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงดังที่กล่าวมา และป้องกันการหกล้มในผู้ที่มีกระดูกบาง รวมทั้งให้ยาเพื่อเพิ่มความหนาแน่นของกระดูก
– การรับประทานอาหาร ผู้ป่วยควรได้รับแคลเซียม 1200 – 1500 มิลลิกรัม ต่อวัน โดยเลือกทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม (นม 1 แก้ว จะให้แคลเซียมประมาณ 300 มิลลิกรัม) หรือทานแคลเซียมเม็ดเสริม
– การออกกำลังกาย การออกกำลังกายแบบ แอโรบิก, ยกน้ำหนัก สามารถทำให้ความหนาแน่นของกระดูกมากขึ้นได้
– บุหรี่ และสุรา ควรงดสูบบุหรี่ และควบคุมปริมาณการดื่มสุรา
– ยา ปัจจุบันมียาหลายชนิด ที่ให้ควบคู่ไปกับการให้แคลเซียม และ วิตามินซีเพื่อทำให้กระดูกมีความหนาแน่นเพิ่มขึ้น