โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หรือที่รู้จักกันดีว่าหัวใจวาย (heart attack)

โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันเกิดจากหลอดเลือดแดงไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจแข็งตัว หรือมีไขมันเกาะที่ผนังของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแดงตีบแคบลง ปริมาณเลือดแดงผ่านได้น้อย ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และหากหลอดเลือดตีบแคบลงจนอุดตันจะทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายได้

โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน มีปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุของการเกิดดังนี้

โรคความดันโลหิตและไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ โรคเบาหวาน ความอ้วน ความเครียด การไม่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
ผู้ชายอายุ 40 ปีขึ้นไป หรือหญิงอายุ 50 ปีขึ้นไปหรือวัยหลังหมดประจำเดือน และผู้มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ และอาการใจสั่น

อาการทั่วไป

ใจสั่น เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก มีอาการคลื่นไส้ และอาจมีอาเจียน มีอาการเหงื่อออก เวียนศีรษะ

สัญญาณอันตราย คืออาการเจ็บหน้าอกที่มีลักษณะเฉพาะ

  • เจ็บตรงกลางหน้าอก เยื้องลงมาทางลิ้นปี่เล็กน้อย
  • จุกแน่น อึดอัด บางทีร้าวไปถึงคอหอย ไหล่ซ้าย ข้อศอก หรือท้องแขนซ้าย กรามหรือคอด้านซ้าย
  • บางรายมีอาการใจหวิว ใจสั่น ชีพจรเต้นเร็วหรือช้ากว่าปกติ เหงื่อซึม หน้ามืดหมดสติ

การปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน​ และ ใจสั่น

เพื่อป้องกันโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันควรควบคุมความดันโลหิตและเบาหวานให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ควบคุมน้ำหนักไม่ให้อ้วนเพราะคนอ้วนหัวใจจะต้องทำงานมากกว่าปกติ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงความเครียด หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมัน เลิกสูบบุหรี่ เพราะสารนิโคตินและสารอื่นๆ มีอันตรายต่อผนังบุด้านในหลอดเลือด การสูบบุหรี่จึงทำให้หลอดเลือดหัวใจหดตัว ลดปริมาณเลือดที่จะไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ หากมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกเป็นๆหายๆ ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที

ป้องกันก่อนเกิด… ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดควรหมั่นตรวจคัดกรองความเสี่ยงทางหลอดเลือดในร่างกาย อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น

  • ตรวจ ABI เพื่อดูเส้นเลือดที่ขา เพื่อตรวจหาการตีบตันของหลอดเลือดข้างนั้นๆ หรือภาวะโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบที่ไปเลี้ยงขา
  • ตรวจ Carotid เพื่อดูเส้นเลือดแดงใหญ่ที่คอที่ไปเลี้ยงสมอง เพื่อตรวจหาภาวะการตีบตันของหลอดเลือดคอที่ไปเลี้ยงสมอง
  • ตรวจ Aneurysm Screening เพื่อดูเส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพองบริเวณหน้าอกและช่องท้อง ซึ่งเป็นหลอดเลือดแดงหลักที่ลำเลียงเลือดจากหัวใจไปสู่ส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย
  • ตรวจ M.R.A Brain เพื่อดูสภาพเส้นเลือดสมอง เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดสมองโป่ง ซึ่งเป็นโรคทางระบบประสาทที่พบได้บ่อยและเป็นปัญหาที่สำคัญเพราะสามารถเกิดขึ้นได้ในคนปกติทั่วไปในทุกเพศทุกวัย

Total Body Vascular 4โรค

  • โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองในช่องท้อง
  • โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน
  • โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน